สัมมนาประจำปี 2551 โลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์
สัมมนาวิชาการประจำปี- Seminar
โลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์
The Islamic World and Muslims in Southeast Asia
วันศุกร์ที่ 27- เสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552 /28-29 March 2009
ณ โรงแรม ทวิน โลตัส นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
Twin Lotus Hotel-Nokhon Sithammarat, Siam (Thailand)
ภาคสนาม อารยธรรมเพื่อนบ้าน ” ลังกาวี” ประเทศมาเลเซีย Langkawi Malaysia
อาทิตย์ 29 – จันทร์ 30 มีนาคม 2552 /29-30 March 2009
ความเป็นมา
ในปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับโลกของอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในมิติต่างๆ ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ยังคงจำกัดอยู่ในวงวิชาการเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ความเป็นจริงแล้วโลกของอิสลาม อันหมายความรวมไปถึงประชาคมมุสลิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีสัดส่วนประชากรมากกว่า 3 ใน 5 ของประชากรในภูมิภาคทั้งหมด มีอินโดนีเซียที่ถือว่าเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก มีมาเลเซียที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ในหมู่ประเทศมุสลิมทั่วโลก และมีภาคใต้ตอนล่างของไทยเป็นอู่อารยธรรมมลายูมุสลิมอันรุ่งเรืองมาตั้งแต่ยุคก่อนสมัยอาณานิคม
ในประเทศอื่นแม้ชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนน้อย แต่ก็มีบทบาทสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ของประเทศนั้นๆ เช่นกัน อีกทั้งยังอยู่ร่วมกันกับประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาอื่นอย่างสันติภายใต้ระบบการเมืองที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งระบอบสาธารณรัฐในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และติมอร์ เลสเต้ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอันมีสุลต่านเป็นประมุขในบรูไน ระบอบสังคมนิยมในเวียดนามและลาว ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในไทย กัมพูชา และมาเลเซีย หรือแม้แต่ระบอบเผด็จการทหารในพม่า
แต่กระนั้น การรับรู้ของคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ต่อโลกอิสลามและประชาคมมุสลิมนั้น มักจำกัดอยู่เฉพาะรายงานข่าวจากสื่อมวลชนทางทั้งภายในและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้กระแสความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกอิสลามเป็นประเด็นนำ ที่มักจะเข้ามาครอบงำกรอบความเข้าใจต่อประเด็นต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันที่โลกอิสลามและประชาคมมุสลิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากกระแสแห่งความขัดแย้งในระดับการเมืองโลกอย่างหนักหน่วง แต่ในทางกลับกันความเข้าใจอันถ่องแท้ต่อกระแสแห่งความขัดแย้งดังกล่าวและลักษณะเฉพาะตัวของโลกอิสลามและประชาคมมุสลิมในภูมิภาคนี้ หาได้เพิ่มขึ้นไปในทางเดียวกันไม่
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ จะต้องสร้างองค์ความรู้และเพิ่มเติมความเข้าใจต่อโลกอิสลามและประชาคมมุสลิมเพื่อเท่าทันต่อผลกระทบจากกระแสความขัดแย้งของการเมืองโลกในปัจจุบัน
การสัมมนาครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือในวงวิชาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยความริเริ่มของสถาบัน มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย กับ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่ส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทยให้เป็นสังคมที่อุดมไปด้วยปัญญา ดังพุทธภาษิตที่ว่า “นตถิ ปญญา สมาอาภา” แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับโลกของอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในมิติต่าง ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
- เพื่อกระตุ้นให้มีการนำเอาความรู้และความเข้าใจที่ได้ ไปปรับให้เอื้อต่อการสร้างความเข้าใจอันดีของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
- เพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและองค์ความรู้ความเข้าใจต่อโลกอิสลามและประชาคมมุสลิมเพื่อเท่าทันต่อผลกระทบจากกระแสความขัดแย้งของการเมืองโลกในปัจจุบัน
ระยะเวลาของการสัมมนา ภาควิชาการ วันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2551 และ ภาคสนาม วันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2551 ณ ประเทศมาเลเซีย
ผู้เข้าร่วมสัมมนา ครู-อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป 500 คน
ลงทะเบียนสัมมนาท่านละ 1,500 บาท (เป็นค่าเอกสารประกอบการสัมมนา อาหารว่างและกลางวัน)
ลงทะเบียนภาคสนามท่านละ 4,900 บาท (รับจำนวนจำกัด 100 คน)
สถานที่จัดสัมมนา โรงแรม ทวิน โลตัส นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกิดความเคลื่อนไหวและตื่นตัวในวงวิชาการเกี่ยวกับในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. เกิดการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับโลกอิสลามและประชาคมมุสลิม
3. เกิดการต่อยอดให้มีมุมมองประเด็นปัญหาใหม่ๆ เกี่ยวกับโลกอิสลามและประชาคมมุสลิม
ติดต่อสอบถามที่ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โทร. 02-424-5768, 02-433-8713 (โทร./โทรสาร) e-mail: kitsunee_tai@yahoo.com
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.textbooksproject.com / www.seas.arts.tu.ac.th
กำหนดการสัมมนาวิชาการ
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. กล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
09.15 – 09.30 น. เปิดการสัมมนาโดย คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกก.มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
09.30 – 10.00 น. ปาฐกถาพิเศษ โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน
10.00 – 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.30 น. อภิปราย ” ไทยใต้-มาเลเซียเหนือ: ปัญหาของศูนย์กลางหรือชายขอบ”
รศ.ดร.จรัญ มะลูลีม
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี
คุณรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช
รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ดำเนินการอภิปราย
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 17.30 น. แบ่งห้องสัมมนา
ห้องบงกชรัตน์1 “สื่อสารมวลชนสมัยใหม่กับภาพลักษณ์มุสลิม”
ผศ.ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี
อ.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง
คุณนวลน้อย ธรรมเสถียร
คุณมูฮัมหมัด อายุบ ปาทาน
รศ.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ดำเนินการอภิปราย
ห้องบงกชรัตน์ 2 “อิสลามาภิวัตน์ในอุษาคเนย์”
รศ.ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์
อ.ซาฟีอี บารู
ผศ.อับดุลเลาะห์ อับรู
ดร.นุมาน หะหยีมะแซ
อ.ทรงยศ แววหงษ์ ดำเนินการอภิปราย
ห้องบงกชรัตน์ 3 “พระเจ้าตากสิน กับนครศรีธรรมราช เรื่องจริงหรืออิงนิยาย”
ภิกษุณีธัมมนันทา
ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
อ.จุฑามาศ ประมูลมาก
ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
ผศ.จันทรา ทองสมัคร
ผศ.กาญจนี ละอองศรี ดำเนินการอภิปราย
ห้องอรพินท์ 1-2 “ประวัติศาสตร์ – พงศาวดารปัตตานี”
รศ.ดร.ครองชัย หัตถา
อ.นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ผศ.ดร.หะสัน หมัดหมาน
ดร.ปิยดา ชลวร
อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล ดำเนินการอภิปราย
ห้องอรพินธ์ 3 “จากคอคอดกระถึงแลนด์บริดจ์”
คุณพิเชษฐ์ พันวิชาติกุล
อ.อดิศร ศักดิ์สูง
คุณทรงวุฒิ พัฒแก้ว
ดร.เลิศชาย ศิริชัย ดำเนินการอภิปราย
(พักรับประทานอาหารว่าง 15.00 – 15.30 น.)
17.30 – 18.30 น. เปิดตัวหนังสือ “ประวัติศาสตร์อาหรับ” โดย อ.ทรงยศ แววหงษ์,
ผศ.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ / งานเลี้ยงค็อกเทล
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552
08.00 – 10.00 น. “ปราสาทเขาพระวิหาร กับการเมืองสยามประเทศไทย และกัมพูชา”
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์
อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ
อ.สมฤทธิ์ ลือชัย ดำเนินการอภิปราย
10.00 – 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.30 น. แบ่งห้องสัมมนา
ห้องบงกชรัตน์1-2 “สตรี รานี: บทบาทหญิงมุสลิม”
รศ.ดร.รัตติยา สาและ
อ. อลิสา หาสะเมาะ
คุณอังคณา นีละไพจิตร
คุณสุภัตรา ภูมิประภาส
อ.สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ
อ.สิริพร สมบูรณ์บูรณะ ดำเนินการอภิปราย
ห้องบงกชรัตน์ 3 “จากจตุคามรามเทพถึงพระพิฆเนศ”
รศ.ฉลอง สุนทราวาณิชย์
ดร.อนุชา ทีรคานนท์
นพ.บัญชา พงษ์พานิช
คุณจำลอง ฝั่งชลจิตร
อ.ชัยวุฒิ พิยะกูล
ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ดำเนินการอภิปราย
ห้องอรพินธ์ 1-2 “ปักษ์ใต้ในทัศนะของญี่ปุ่น จาก ยามาดะ นางามาซะ ถึงปัจจุบัน”
ผศ.ดวงใจ หล่อธนวณิชย์
ดร.พวงทิพย์ เกียรติสหกุล
ผศ.พ.อ.หญิง นงลักษณ์ ลิ้มศิริ
ผศ.พลับพลึง คงชนะ
ผศ.มล. ฐิติรัตน์ ลดาวัลย์ ดำเนินการอภิปราย
ห้องอรพินธ์ 3 “การเทครัวในอุษาคเนย์”
อ.องค์ บรรจุน
อ.สถาพร ศรีสัจจัง
อ.ซากีร์ พิทักษ์คุมพล
คุณชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต
ดร.วีระ สมบูรณ์ ดำเนินการอภิปราย
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 18.00 น. ภาคสนามสยามประเทศ “ตามรอยจตุคามรามเทพ“
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 18.00 น. ภาคสนามสยามประเทศ “ตามรอยจตุคามรามเทพ”
ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการสัมนาวิชาการ
โลกของอิสลามและมุสลิมในสยามประเทศไทย-อุษาคเนย์-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปก
สารบัญ
หน้า 1-10
หน้า 11-24
หน้า 25-59
หน้า 60-113
หน้า 114-145
หน้า 156-197
หน้า 198-230
หน้า 231-265
หน้า 266-316
หน้า 317-350
หน้า 351-430
หน้า 431-480
หน้า 481-509
หน้า 510-523