สัมมนาประจำปี 2552 รัฐชาติ-พรมแดน : ความขัดแย้งและข้อยุติบนเส้นทางสันติภาพอาเซียน

งานสัมมนาวิชาการ-Seminar

รัฐชาติ พรมแดน: ความขัดแย้งและข้อยุติ บนเส้นทางสันติภาพอาเซียน

Nation-states and Their Borders: Conflicts and Resolutions

ศุกร์ 27 พฤศจิกายน 2552 Fr. 27 November 2009

ณ หอประชุมใหญ่  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ตลิ่งชัน กรุงเทพ

Princess Sirindhorn Anthropology Center, Bangkok


กำหนดการสัมมนาวิชาการ

08.00 – 09.00              ลงทะเบียน

09.00 – 09.15              เปิดการสัมมนาโดย พล.ต.อ.เภา สารสิน ประธานกรรมการมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

09.15 – 10.00              ปาฐกถา โดย ดร.สุรินทร์   พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน

10.00 – 10.30              พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.30              อภิปราย “รัฐชาติ – พรมแดน: ความขัดแย้งและข้อยุติ บนเส้นทางสันติภาพอาเซียน”

โดย รศ.ดร.สุรชาติ  บำรุงสุข

ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร

คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี    ดำเนินรายการ

12.30 – 13.30              พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 16.00              แบ่งห้องสัมมนา

ห้องที่  1           สำรวจชายแดนไทยกับเพื่อนบ้าน Asean อุษาคเนย์

โดย     อ.สมฤทธิ์        ลือชัย

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์  เพชรเลิศอนันต์

อ.อัครพงษ์       ค่ำคูณ

รศ.ฉลอง          สุนทราวาณิชย์

รศ.อุบลรัตน์    ศิริยุวศักดิ์         ดำเนินรายการ

ห้องที่  2           ศึกษาเปรียบเทียบปัญหา / ทางออกพรมแดน

อินโด / มาเลเซีย อ.สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ

สิงคโปร์ / มาเลเซีย ดร.พวงทอง      ภวัครพันธุ์

ไทย / กัมพูชา ดร.ชาญวิทย์     เกษตรศิริ

ฝรั่งเศส / เยอรมนี ดร.มรกต เจวจินดา ไมยเออร์

ดำเนินรายการ             ดร.วีระ สมบูรณ์

ห้องที่ 3   เสนอรายงานของนักวิชาการรุ่นใหม่

ความขัดแย้งไทยลาวบ้านร่มเกล้าในทัศนะหนังสือพิมพ์ลาว

โดย    คุณวิศวมาศ    ปาละสาร

การผลิตความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย” ในยุคพัฒนา (2500 – 2509)

โดย   คุณภิญญพันธุ์            พจนะลาวัณย์

อาณาเขตทางทะเล

โดย  อ.กวีพล         สว่างแผ้ว

นักวิชาการรุ่นใหม่ ชาวกัมพูชา

อ.ทรงยศ          แววหงษ์                       ดำเนินรายการ

16.00 – 16.30              ปัจฉิมกถา โดย อ.วีระ   ธีรภัทรานนท์ *

16.30 – 17.30          งานเลี้ยงรับรอง

ª    ฟังการขับร้องเพลงประสานเสียง เพื่อนบ้านของเราในอุษาคเนย์ / อาเซียน

ª    ชมงิ้วธรรมศาสตร์จูเนียร์  สมานฉันท์เพื่อนบ้านอาเซียน

ª    อภินันทนาการหนังสือประจำปี

พิธีกร               อ.สมฤทธิ์   ลือชัย

จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

ความเป็นมา

ในปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรัฐชาติและปัญหาพรมแดนของประเทศในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ทั้งในมิติด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ยังคงจำกัดอยู่ในวงวิชาการเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ความเป็นจริงแล้วปัญหาเรื่องรัฐชาติและพรมแดนนั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีผลกระทบที่สำคัญต่อผู้คนจำนวนมาก ทั้งผู้ซึ่งมีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์และเกี่ยวโยงกับพรมแดนรัฐชาติ และผู้คนในส่วนกลาง

นับตั้งแต่การก่อกำเนิดของรัฐชาติของบรรดาประเทศในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ที่นำไปสู่การขีดเส้นพรมแดนและแบ่งเขตการปกครองโดยศูนย์กลาง ได้ทำให้พื้นที่จำนวนมากในประชาคมแห่งนี้กลายเป็นชายขอบ เป็นกันชน เป็นพื้นที่ความรุนแรง และเป็นพื้นที่ที่แบ่งแยกผู้คนที่สังกัดชาติพันธุ์เดียวกันให้ออกจากกัน หลายพื้นที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ เป็นชนวนเพื่อสร้างความขัดแย้งและต่อมาก็ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเงื่อนไขต่อรองทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในหลายกรณีการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องพรมแดนนั้น จบลงด้วยการใช้ความรุนแรง ซึ่งนอกจากจะขาดทั้งมิติความเข้าใจในลักษณะของพื้นที่นั้นๆและความเข้าใจในภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชุมชนในบริเวณดังกล่าวแล้ว  ในหลายกรณีปัญหาข้อพิพาทยังมิได้ถูกแก้ไขให้ตรงจุดเพื่อลดความขัดแย้ง  แต่ในทางตรงกันข้าม ปัญหาเหล่านั้นกลับถูกเพิกฉาย จนทำให้เรื่องราวต่างๆ ซับซ้อนและยากต่อการแก้ไขเพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อสิ่งที่เรียกว่า “ผลประโยชน์แห่งชาติ”

พื้นที่กว่า 4,523,000  ตารางกิโลกเมตร ประชากรกว่า 568,300,000 คน ในอาณาบริเวณของ 10 ประเทศที่สังกัดประชาคมแห่งนี้ ยังต้องการความเข้าใจที่รอบด้านและทัศนคติที่เป็นบวกที่จะทำให้เกิดทัศนคติที่ว่า ความเป็นประชาคมของภูมิภาคนั้นอยู่  จำต้องอยู่เหนือข้อจำกัดเรื่องพรมแดนของผู้คนที่สังกัดในแต่ละรัฐชาติ และการแก้ไขปัญหาต่างๆจำต้องอาศัยกลไกของความเป็นประชาคมเข้ามาไกล่เกลี่ย

ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยและประเทศต่างๆ ในประชาคมแห่งนี้ จะต้องสร้างองค์ความรู้และเพิ่มเติมความเข้าใจอันดีต่อปัญหาพรมแดนรัฐชาติของประเทศในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ทั้งนี้ก็เพื่อการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างสันติภาพให้บังเกิดขึ้นในประชาคมแห่งนี้ อันเป็นเป้าหมายที่สำคัญยิ่งของปณิธานการสร้างประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

การสัมมนาครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือในวงวิชาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยความริเริ่มของสถาบัน มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย   กับ  บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่ส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน   เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทยให้เป็นสังคมที่อุดมไปด้วยปัญญา  ดังพุทธภาษิตที่ว่า   “นตถิ ปญญา สมาอาภา” แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหารัฐชาติและพรมแดนในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)ในมิติต่าง ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์  สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
  2. เพื่อกระตุ้นให้มีการนำเอาความรู้และความเข้าใจที่ได้ ไปปรับใช้ให้เอื้อต่อการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
  3. เพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและองค์ความรู้ความเข้าใจในเรื่องพรมแดนระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)เพื่อเท่าทันต่อการแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้งกัน

ระยะเวลาของการสัมมนา วันศุกร์ที่  27  พฤศจิกายน  2552

 

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการสัมนาวิชาการ
รัฐชาติ-พรมแดน : ความขัดแย้งและข้อยุติบนเส้นทางสันติภาพอาเซียน
สารบัญ
หน้า 2-59
หน้า 60-189
หน้า 190-279
หน้า 280-288

การแสดงความเห็นถูกปิด