สัมมนาประจำปี 2550 120 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น : เอเชียตะวันออกกับอุษาคเนย์ (2430-2550)

สัมมนาวิชาการ Symposium

120 ปี ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น: เอเชียตะวันออกกับอุษาคเนย์ (2430-2550)

120 Anniversary: Thai-Japanese Diplomatic Relations (1887-2007)

ศุกร์/Fri 23 พฤศจิกายน/November  2550/2007

ณ โรงแรม พูลแมน  กรุงเทพ คิง  เพาเวอร์  ซอยรางน้ำ  กรุงเทพฯ

Hotel Pullman Bangkok King Power

 

หลักการและเหตุผล

สยาม (ประเทศไทย) กับประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างกันขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น โดย “หนังสือปฏิญญาณว่าด้วยทางพระราชไมตรีและการค้าขายในระหว่างประเทศสยามกับประเทศญี่ปุ่น” ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ไว้ว่า เพื่อที่จะให้ความสัมพันธ์ทั้งทางการค้าและวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานในอดีตหรือกว่าหกศตวรรษแล้วนั้น ดำรงอยู่สืบไป ทั้งนี้ การเปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการครั้งใหม่ ระหว่างสยามกับญี่ปุ่นนั้น ก็เป็นการเริ่มความสัมพันธ์ด้วยประเด็นสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ในบริบทของกระแสลัทธิล่าอาณานิคม และนโยบายตลาดการค้าเสรี ดังนั้น การเปิดความสัมพันธ์สยาม-ญี่ปุ่น จึงเสมือนเป็นหลักหมายที่สยาม/ไทย ได้เข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของบริบทการเมืองโลกและบริบทเศรษฐกิจลัทธิ “การค้าเสรี” อย่างแท้จริง จากตะวันตก (สนธิสัญญาเบาว์ริง กับอังกฤษ พ.ศ.2398) จนถึงตะวันออกไกลกับประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงแห่งความสัมพันธ์สยาม/ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาถึงปัจจุบันนั้น สยามประเทศไทยได้พัฒนาศักยภาพ กระทั่งสามารถสร้างความเสมอภาคระหว่างประเทศได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2480 จากสนธิสัญญาฉบับใหม่ คือ “สนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างสยาม/ไทยกับญี่ปุ่น” กระทั่งมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลากว่าศตวรรษแห่งความสัมพันธ์ระหว่างกัน อาจกล่าวได้ว่า ญี่ปุ่นอยู่ในฐานะประเทศชั้นนำของโลก ทั้งในบริบทลัทธิล่าอาณานิคม บริบทของสงครามโลกครั้งที่สอง บริบทของการเมืองโลกสมัยสงครามเย็น และบริบทพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

ในวาระโอกาสครบรอบ 120 ปีของความสัมพันธ์สยาม/ไทย-ญี่ปุ่นนี้ จึงเป็นวาระพิเศษที่สังคมไทย พึงจะสำรวจและศึกษาทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เข้มข้น เพื่อประเมินสถานภาพและสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์สยาม/ไทย-ญี่ปุ่นในมิติหลากด้าน ทั้งมิติพัฒนาการภายในของญี่ปุ่นเอง มิติความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีที่มีต่อสยามประเทศไทย และภูมิภาคอุษาคเนย์ กับประเทศมหาอำนาจโลกทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เพื่อที่สังคมไทยจะได้สร้างภูมิทางสังคมความรู้ให้รู้เท่าทันและแสวงหาทางปรับศักยภาพเชิงนโยบายให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกานุภิวัตน์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการด้านญี่ปุ่นศึกษาและการศึกษาเปรียบเทียบกับมิติในโลกเอเชีย

2.เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างสยาม/ไทยและอุษาคเนย์ กับประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจทั้งในทวีปเอเชีย (ญี่ปุ่น จีน อินเดีย) ทวีปยุโรปและอเมริกา

3.เพื่อสนับสนุนให้มีการนำเอาความรู้และความเข้าใจจากมิติใหม่ทางวิชาการไปปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอนทุกระดับ ทั้งในระบบการศึกษา และการศึกษาเชิงสาธารณะในสื่อมวลชน และตลาดวิชา

  1. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในวาระโอกาสพิเศษฉลองครบรอบความสัมพันธ์สยาม/ไทย-ญี่ปุ่น 120 ปี

ระยะเวลาของการสัมมนา วันศุกร์ที่  23  พฤศจิกายน  2550

ผู้เข้าร่วมสัมมนา

การสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบองค์ความรู้และทัศนภาพใหม่แล้ว ยังมุ่งหวังที่จะให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้และทัศนภาพใหม่ดังกล่าวไปอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ คือ

1.ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ที่เกี่ยวกับวิชาประเทศเพื่อนบ้านของเรา วิชาทวีปของเรา วิชาญี่ปุ่นศึกษา วิชาจีนศึกษา วิชาเกาหลีศึกษา วิชาอินเดียศึกษา วิชาอุษาคเนย์ศึกษา และบทบาทของมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีต่อสยาม/ไทยและภูมิภาคอุษาคเนย์ ทั้งนี้ ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจการค้า การเมือง สังคมและวัฒนธรรม

  1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีบทศึกษาในหัวข้อต่างๆ ข้างต้น

3.ประชาชน พ่อค้า และนักธุรกิจ ตลอดทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนเพื่อให้สยามประเทศไทย พัฒนาอย่างทัดเทียมกับประเทศอารยะ ทั้งด้านการเมืองประชาธิปไตยและเศรษฐกิจสมัยโลกานุวัตน์ และสังคมวัฒนธรรมที่ดำรงสิทธิเสมอภาคและเสรีภาพ

  1. สื่อมวลชนทุกแขนง

 

ลงทะเบียนสัมมนาท่านละ 1,500 บาท

(เป็นค่าเอกสารประกอบการสัมมนา อาหารกลางวัน อาหารว่าง)

สถานที่จัดสัมมนา โรงแรม พูลแมน  กรุงเทพ คิง เพาเวอร์  ซอยรางน้ำ  กรุงเทพฯ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดความตระหนักถึงองค์ความรู้ด้านญี่ปุ่นศึกษา และการศึกษาเปรียบเทียบกับมิติในโลกเอเชียที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
  2. เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่จะเข้าใจมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านต่างๆ ภายใต้บริบทอุษาคเนย์ บริบทเอเชีย และบริบทโลกที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

3.เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงสถานภาพขององค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในสังคมสยาม/ไทยในทุกระดับการศึกษา อันจะส่งผลให้เยาวชนรุ่นใหม่ของไทยมีองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัยต่อยุคการแข่งขันโลกานุวัตน์

  1. เกิดความตระหนักถึงในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการด้านญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย อุษาคเนย์ และเอเชียศึกษาอื่นๆ ให้มีความทันสมัยตลอดเวลา

 

ติดต่อสอบถามที่ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

โทร. 02-424-5768, 02-433-8713 (โทร./โทรสาร)

e-mail: kitsunee_tai@yahoo.com

กำหนดการ

สัมมนาวิชาการ Symposium

120 ปี ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น: เอเชียตะวันออกกับอุษาคเนย์ (2430-2550)

120 Anniversary: Thai-Japanese Diplomatic Relations (1887-2007)

ศุกร์/Fri 23 พฤศจิกายน/November  2550/2007

ณ โรงแรม พูลแมน  กรุงเทพ คิง  เพาเวอร์  ซอยรางน้ำ  กรุงเทพฯ

Hotel Pullman Bangkok King Power

 

08:00-09:00       ลงทะเบียน

09:00-09:15       เปิดการสัมมนาโดย พล.ต.อ.เภา  สารสิน  ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

09:15-09:45      พักรับประทานอาหารว่าง

09:45-10:15       แนะนำหนังสือประจำปี “เอเชียตะวันออกยุคใหม่: จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน”

โดย อ. วรศักดิ์ มหัธโนบล และ ผศ.ธำรงศักดิ์   เพชรเลิศอนันต์

10:15-12:00       อภิปราย “มังกร อินทรีย์  เบญจมาส และอุษาคเนย์”

ศ. ผาสุก           พงษ์ไพจิตร                       (เศรษฐ จุฬาฯ)

ดร.จุลชีพ         ชินวรรโณ              (รัฐ มธ.)

ดร. กิตติ           ประเสริฐสุข                       (รัฐ มธ.)

ดร. พิภพ          อุดร                     (พาณิชย์ มธ).  ดำเนินการ

12:00-13:00       พักรับประทานอาหารกลางวัน (ฉายภาพยนตร์ “จากสยามเป็นไทย”)

13:00-14:45       แบ่งห้องสัมมนา

ห้องที่  1 “ภาพลักษณ์ญี่ปุ่นในสยามประเทศไทย”

ดร.ธเนศ          อาภรณ์สุวรรณ       (ศิลป มธ.)

รศ. ฉลอง         สุนทราวาณิชย์      (อักษร จุฬาฯ)

อ.นงลักษณ์      ลิ่มศิริ                  (จปร.)

ดร. วิทยา          สุจริตธนารักษ์       (รัฐ จุฬาฯ )  ดำเนินการ  

ห้องที่ 2  “หมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา : วันวาน วันนี้ วันหน้า

ดร.ธีรวัต         ณ ป้อมเพชร           (อักษร  จุฬา)

คุณยู                มาเอดะ                          (อาสาสมัครญี่ปุ่น)

คุณสุบงกช      ธงทองทิพย์             (พิพิธภัณฑเจ้าสามพระยา)

ผศ.ดวงใจ       หล่อธนวณิชย์         (ศิลป์ มธ.)   ดำเนินการ

ห้องที่ 3  “ภาพยนตร์อินเดีย – มหาภารตยุทธ” คลิ๊ปภาพยนตร์และ

อภิปราย โดย

คุณวีระ ธีรภัทรานนท์,

คุณไมเคิล ไรท์

อ. ทรงยศ แววหงษ์

14:45-15:15       พัก ชมนิทรรศการและหนังสือ

15:15-17:00       แบ่งห้องสัมมนา

ห้องที่ 1 “เศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น ลุ่มๆ ดอนๆ”

ดร.สุธี            ประสาทเศรษฐ์         (เศรษฐ จุฬา)

ดร.ไชยวัฒน์    ค้ำชู                      (รัฐ จุฬาฯ)

ดร.ศิริพร        วัชชวัลคุ                  (รัฐ มธ.)

ดร. วีระ          สมบูรณ์                 (รัฐ จุฬาฯ)   ดำเนินการ

ห้องที่ 2   “ภาพยนตร์ไทย: ตำนาน ประวัติศาสตร์ เรื่องจริงหรืออิงนิยาย” คลิ๊ปภาพยนตร์

และอภิปราย  โดย อ. กำจร หลุยยะพงศ์  และ ดร. สมสุข   หินวิมาน

ห้องที่ 3 “ภาพยนตร์ญี่ปุ่น – ณ วันนี้” คลิ๊ปภาพยนตร์และอภิปราย

โดย  รศ.อาทร  ฟุ้งธรรมสาร และ  คุณทากายูกิ  อากิบะ

17:00-18:00         สังสรรค์ รับประทานอาหารว่าง และรับอภินันทนาการหนังสือประจำปีของ 2

มูลนิธิ กับ 1 บริษัท

 

พิธีกรตลอดงาน        อ.สมฤทธิ์   ลือชัย

 

หมายเหตุ

จัดโดย   มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

 

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการสัมนาวิชาการ
120 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น : เอเชียตะวันออกกับอุษาคเนย์ (2430-2550)
หน้า 1-77
หน้า 78-115
หน้า 116-158
หน้า 159-229
หน้า 230-287
หน้า 288-314

การแสดงความเห็นถูกปิด