อ.ป๋วยกับโครงการตำราฯ

อ.ป๋วยกับมูลนิธิโครงการตำราฯ

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2459-2542) หรือที่เรียกกันติดปากว่า “อาจารย์ป๋วย” ได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการสัมมนาเรื่อง “ปัญหาและบทบาทมหาวิทยาลัยในประเทศไทย” ในระหว่างวันที่ 1-5 มิถุนายน 2512 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นการรวมตัวกันเป็นครั้งแรกของของอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิชาการอิสระรวมกว่า 70 คน แม้ว่าจะมาจากหลากหลาย แต่ทั้งหมดก็มีอารมร์ร่วมกันอย่างหนึ่งคือความอึดอัดต่อสภาพมหาวิทยาลัยและการเรียนการสอยในขณะนั้น

หนึ่งในปัญหาที่ได้รับการยกขึ้นมาคือการขาดแคลนตำราเรียนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งหมายถึงสภาพขาดแรงสนับสนุนให้อาจารย์นักวิชาการลุกขึ้นมาเขียนตำราอย่างจริงจัง

ในความทรงจำของอ.เสน่ห์ จามริก อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนั้นเห็นว่านั้นเป็นฉันทามติร่วมกันในการที่จะผลักดันให้เกิด โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลังจากนั้นอาจารย์ป๋วย และอาจารย์เสน่ห์ ได้เป็นเรียวแรงสำคัญในการติดต่อประสานงาน ปรึกษาหารือและหมู่นักวิชาการและประสานงานกับแหล่งทุนที่มีนโยบายสนับสนุนการทำงานด้านวิชาการ และนำไปสู่การจัดตั้ง โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขึ้นโดยมีการประชุมครั้งแรกในวันอังคารที่ 20 กันยายน 2509 ที่ห้องคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอ.ป๋วยรับหน้าที่เป็นประธานกรรมการ
จนกระทั่งในปี 2512 ก็มีหนังสือเล่มแรกที่ผลิตจากโครงการตำราฯ นั้นก็คือ

europe1494_1789
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494- 1789 โดยเจ.เอ็ม. ทอมป์สัน แปลโดย นันทา โชติกะพุกกะณะ และ นิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ในหนังสือเล่มนี้อาจารย์ป๋วยได้เขียนถ้อยแถลงว่า

โครงการตำรานี้ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกันเองส่วนบุคคลในหมู่ผู้มีอาชีพสอนและผู้รักงานศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ จุดมุ่งหมายเบื้องแรกก็เพื่อส่งเสริมให้มีหนังสือตำราดี ๆ มากขึ้นในภาษไทย ทั้งนี้ก็ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าหนังสือตำราภาษไทยในระดับคุณภาพยังมีไม่เพียงพอ ถ้าส่งเสริมให้มีหนังสือเช่นนี้เพิ่มขึ้น ย่อมเป็นการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาในชั้นมหาวิทยาลัยไปโดยปริยาบ ทั้งการส่งเสริมด้านนี้ย่อมจะมีคุณค่าทางสร้างสรรค์ปัญญา ความคิดริเริ่ม ในเรื่องราวเกี่ยวกัยสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองอีกด้วย

 

หลังจากนั้นโครงการตำราฯได้สร้างผลิตผลงานทางวิชาการให้เป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วทั้งในแง่การตอบรับจากผู้อ่านและนักวิชาการที่เข้าร่วม ดังจะเห็นได้จากการผลิตตำราชุด วรรณไวทยากร ซึ่งเป็นการชุมนุมนิพนธ์ทางวิชาการเพื่อเฉลิมฉลอง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เนื่องในโอกาสพระชนม์ครบ 80 ปีบริบูรณ์ 25 สิงหาคม 2515 ซึ่งสามารถระดมงานวิชาการจากนักวิชาการชั้นนำกว่า 26 ชิ้น พิมพ์ออกมาพร้อมกัน 10 เล่ม
ในปี 2517 ได้มีความคิดที่จะแยกตัวออกจากสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อมาดำเนินการอย่างเป็นอิสระและอ.เสน่ห์ จามริก ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการในปี 2518
9 มีนาคม 2519 โครงการตำราได้ผลิตหนังสือชุมนุมบทความทางวิชาการเพื่อเป็นเกียรติแก่อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในโอกาสอายุครบ 60 ปี หนังสือแบ่งเป็น 2 เล่ม ประกอบด้วย


รักเมืองไทย เล่ม 1 สมบัติ จันทรวงศ์ และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เป็นบรรณาธิการ


รักเมืองไทย เล่ม 2 ณรงค์ชัย อัครเศรณี และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เป็นบรรณาธิการ

เนื้อหาในหนังสือชุดนี้มีคุณค่าทางวิชาการระดับ “คลาสสิค” และยังคงเป็น “ตำรา” สำหรับนักศึกษาไปอีกยาวนาน นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้ยังเป็น “บันทึกความรู้สึกแห่งยุคสมัย” ดังปรากฏในบทนำว่า ไม่มียุคใดสมัยใด ที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดของคนในชาติเท่าเวลานั้น ไม่มียุคใดสมัยใดที่เกิดเสียงเรียกร้องให้คนไทยรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เท่าเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ “รักเมืองไทย” จึงเป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่ออุทิศให้อ.ป๋วย เพราะคงหาคนไทยน้อยนักที่อุทิศตนให้ชาติบ้านเมืองได้มากเท่าท่าน ไม่ว่าในฐานะครู อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ที่วางรากฐานให้แก่บ้านเมือง หรือในช่วงสงคราม ท่านเป็นเสรีไทยที่ได้สร้างวีรกรรมได้ไม่น้อยไปว่าทหารอาชีพ

แต่ไม่นานหลังจากฉลอง “แซยิด” อาจารย์ป๋วย ก้ต้องเจอมรสุดการเมืองเล่นงานจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษในเย็นวันนั้น ขณะที่โครงการตำราก็ต้องเผชิญกับมรสุมเช่นกัน โดยหนังสือจำนวนมากถูกยึดไปจากโรงพิมพ์ โดยมีการสรุปหนี้สินที่เสียหายกว่า 150,000 บาท

แต่นั่นก็เป็นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับชะตากรรมของอาจารย์ป๋วย เมื่อท่านได้ลี้ภัยท่านได้ เดินทางไปพบคนไทยในต่างประเทศ และบุคคลสำคัญในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ก ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เพื่อให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ เหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศไทยเวลานั้น เพื่อเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตย ในเมืองไทยอย่างสันติวิธี ปี พ.ศ. 2520 อาจารย์ป๋วยเดินทางไปให้การต่อ คณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสืบพยาน เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลา จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2520 อาจารย์ป๋วยได้ล้มป่วยด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานนับสามเดือน อาการเส้นโลหิตในสมองแตก ได้ส่งผลกระเทือนสมองส่วนที่แปลความคิดเป็นคำพูด ทำให้อาจารย์ป๋วยไม่สามารถพูดได้อย่างคนปกติ ท่านพูดออกเสียงได้เล็กน้อยเท่านั้น นับเลขได้ 1-2-3 ถึง 10 แต่ต้องเริ่มต้นที่เลข 1 เสมอ

แต่ท่านก็ยังรับรู้การดำเนินการของโครงการตำราเสมอ จนกระทั่งท่านได้ถึงแก่กรรมวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่บ้าน ณ กรุงลอนดอน เนื่องจากเส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องโป่งแตก (aortic aneurysm) อายุได้ 83 ปี

When you decide to purchase weed from our on-line store, you’re presented with a lot of alternatives. When it might sound a little sketchy, it’s completely feasible to purchase weed safely and legally online you just have to understand what you’re doing. Legal Weed Fly is among the national and worldwide pioneers when it has to do with providing medical cannabis patients with nothing https://potster.com but the very best.